TKP HEADLINE

ประเพณีสลากภัต


 ประเพณีสลากภัต

   ความเป็นมา งานประเพณีทำบุญสลากภัต เป็นงานประเพณีเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานกับวิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นซึ่งมีความผูกพันกับพุทธศาสนา การทำบุญสลากภัตมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่น เป็นวิธีการถวายเครื่องไทยทานแด่พระภิกษุสงฆ์วิธีหนึ่ง โดยชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันนำภัตตาหารคาวหวาน ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ตลอดจนมีแก่นสารที่สำคัญเป็นการสั่งสอนให้พุทธศาสนิกชน ได้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้สร้างความดี ละเว้นความชั่ว เพื่อผลบุญในชาติหน้า และให้ลูกหลานมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งตำบลบางสะพาน ได้จัด “งานประเพณีทำบุญสลากภัต กำหนดจัดทุกปี กิจกรรมมีขบวนแห่สลากภัต ณ วัดดอนตะเคียน และของทุกตำบลในอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

<<อ่านต่อ>>

เกาะทะลุ


 เกาะทะลุ



   ความเป็นมา เกาะทะลุ ตั้งอยู่ ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกาะที่มีหาดทรายขาวและน้ำใส รวมทั้งเป็นจุดด้ำน้ำตื้นชั้นดี มีปลา สวยงามชุกชุม และปะการังหลากหลายชนิด เหมาะสำหรับผู้รักธรรมชาติที่นิยมดำน้ำชมปะการัง เกาะทะลุมีรูปร่างยาวรี หัวท้าย แหลม ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ โดยชายฝั่งด้านตะวันตก คือบริเวณที่มีรีสอร์ท หาดทราย และทิวมะพร้าวร่มรื่น ผิดกับฝั่งด้านตะวันออก ที่หันออกสู่ทะเลไม่มีหาดทรายเป็นผาหินสีแดง สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของเกาะทะลุ คือ ช่องทะลุ ซึ่งมีลักษณะเป็นโพรงขนาดใหญ่ทะลุ ถึงกันสองด้านแอบอยู่ใต้เพิงผาคล้ายสะพานหิน

<<อ่านต่อ>>

ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์


 ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์


ความเป็นมา วัสดุอินทรีย์ที่ใช้สำหรับการหมัก อาจเป็นเศษพืชสด วัสดุอินทรีย์เผา รวมถึงอาจผสมซากของสัตว์ หรืออาจผสมปุ๋ยคอกก็ได้ และหากนำมากองรวมกัน พร้อมรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อนจึงจำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน้ำให้ทั่ว ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และหากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุด และความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อมใช้งานแล้ว ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายได้ดีแล้วจะมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดสีน้ำตาลดำ มีความร่วนซุย และมีกลิ่นฉุนของการหมัก เมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้ในแปลงเกษตรก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง และช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เป็นต้น

ดังนั้น นางอุบล ช่วยชูหนู ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำปุ๋ยหมัก เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน จากนั้นได้เผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชนต่อไป

ชื่อภูมิปัญญา : นางอุบล ช่วยชูหนู โทร. 081-893-3536

ข้อมูลพื้นฐานรายบุคคล : อยู่บ้านเลขที่ 73/2 หมู่ 9 บ้านหนองคล้า ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

<<อ่านต่อ>>

เพาะพันธ์ุปูม้า


 เพาะพันธ์ุปูม้า


ประเภทแหล่งเรียนรู้ : ศูนย์เรียนรู้เพาะพันธ์ุปูม้า

ผู้รับผิดชอบ : นายกฤษณา กลิ่นน้อย โทร : 081-010-4963

สถานที่ ที่ตั้ง (พิกัด) ของแหล่งเรียนรู้ : บ้านหนองเสม็ด หมู่ 10 ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110

ประวัติความเป็นมา : เริ่มแรกทำเป็นกระชังในทะเล แต่ด้วยความที่ทะเลแถบบ้านหนองเสม็ด เป็นทะเลเปิด คลื่นลมมาแทบทุกทิศ บางครั้งเช้ามากระชังก็โดนพัดเสียหายแล้ว หรือบางทีพอเอาแม่ปูมาปล่อย แม่ปูเขี่ยไข่ ก็จะโดนปลาข้างลายที่มีอยู่มาก มากินลูกปู ทำให้ไม่ค่อยได้ผล ศึกษาจากหลายๆ ที่ จนกลายมาเป็นการเพาะพันธุ์ลูกปู ในถังเพาะ บนฝั่งแทน พอแม่ปูเขี่ยไข่แล้ว จึงค่อยปล่อยลงทะเล สมัยแรกๆ ก็ขอซื้อแม่พันธุ์จากชาวประมง ซื้ออยู่ถึง 1 ปี เพาะพันธุ์แล้วปล่อยไปตลอดปี แล้วก็ลองหยุดซื้อหยุดปล่อยไป 1 ปี พอวิจัยดูทั้งนักวิจัยประมง และชาวบ้านเองก็เห็นผลว่าจำนวนปูลดลง จนชาวประมงที่ได้แม่ปูก็จะเอามาบริจาคแทนโดยไม่ต้องซื้อกันอีกต่อไป

ทุกวันนี้ กลายเป็นความร่วมมือกันของชาวประมง ที่พอได้ปูที่มีไข่นอกกระดอง ก็จะนำมาให้ที่ธนาคาร ซึ่งเคยต้องดูแลมากถึง 2,000 กว่าแม่ทีเดียว โดยคนดูแลก็จะคอยให้น้ำ ให้ออกซิเจน ในถังเพาะที่แยกไว้ พอแม่ปูเขี่ยไข่ ก็จะปล่อยลงสู่ทะเลด้านใน โดยทำเป็นท่อลงไปในน้ำ ที่มีตาข่ายขึงล้อมรอบไว้อีกที ปล่อยให้ลูกปูเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งตรวจสอบได้จากการเดินดูจะเห็นลูกปูขึ้นมาริมตลิ่งก็มี

<<อ่านต่อ>>

แปรรูปอาหารทะเล


แปรรูปอาหารทะเล



“ช่วงสมัยนั้นต้องบอกตามตรงว่า เทคโนโลยีในเรื่องของตู้เย็นหรือน้ำแข็งยังไม่มี ทางครอบครัวก็จะเน้นขายปลาทะเลสด และบางส่วนก็จะนำมาแปรรูป ซึ่งสินค้าขายดีของเราก็คือ ปลาทูแดดเดียว ปลาอินทรีย์เค็ม  โดยระยะหลังมีการปรับสูตรบ้าง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ก็จะมีการหมักใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม แม่พรจิต กล่าว

ชื่อภูมิปัญญา:การทำผ้าบาติก


 ชื่อภูมิปัญญา:การทำผ้าบาติก


ชื่อภูมิปัญญา:การทำผ้าบาติก

หมายเลข/รหัสภูมิปัญญา

ข้อมูลพื้ฐานรายบุคคล:

ความเป็นมาของบุคคลคลังปัญญา:

จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น:เป็นกลุ่มที่ทำผ้าบาติกเพื่อจำหน่าย และยังมีวิทยากรสำหรับให้ความรู้

วัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เกิดจากภูมิปัญญา:

รายละเอียดของภูมปัญญาท้องถิ่น:

รูปแบบและลักษณะการถ่ายทอดการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น:

ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาให้เป็นนวัตกรรม คุณค่าและความภาคภูมิใจ:

ข้อมูลอื่นๆ:

ผู้บันทึกข้อมูล:นายพิศณุ คงประจำ ครู กศน.ตำบล

วัดถ้ำเขาลักษณ์จันทร์


 วัดถ้ำเขาลักษณ์จันทร์


<<อ่านต่อ>>

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand